วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การตำข้าว

ความเชื่อและพิธีกรรม

วันจกข้าว คือวันที่ขึ้นไปตักข้าวเปลือกออกจากยุ้งฉาง เพื่อนำไปตำให้เป็นข้าวสารโดยทั่วไปจะห้ามตำข้าวในวันพระ นอกจากนั้นคนโบราณยังมีตำราดูฤกษ์ดูวัน เรียกว่า “ต๋ารางวันจกข้าว” และ “วันผีช่วยกิน” ถ้าจกไม่ดูตำราก่อน เมื่อไปถูกหรือตรงกับวันที่ห้ามจกข้าวแล้ว เชื่อว่าจะทำให้ข้าวในยุ้งนั้นหมดเร็วกว่าปกติ

ต๋ารางวันจกข้าว ตารางวันจกข้าวทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกหรือไม้จริง กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ด้านหนึ่งทำเครื่องหมายขีดเป็นตาราง 2 แถวจากด้านบนลงล่าง แถวละ 15 ช่องตามจำนวนวันขึ้นแรม โดยแถวหนึ่งเป็นข้างขึ้น อีกแถวหนึ่งเป็นข้างแรม สำหรับดูวันที่จะตักข้าวเปลือกไปตำ ไปสี มักจะผูกแขวนไว้ที่ประตูยุ้งข้าว



ไม้ต๋ารางวันจกข้าว

วันผีช่วยกิน นอกจากต๋ารางวันจกข้าวแล้ว ยังมีตารางที่ใช้ประกอบดูวันอีกชนิดหนึ่ง คือวันผีช่วยกิน เรียกว่า “ตารางวันผีตามอยช่วยกินข้าว” เป็นตารางบอกว่าวันไหนผีช่วยกินกี่ตัว วันไหนผีไม่กินสักตัว ถ้าตรงกับวันผีช่วยกินห้ามไม่ให้ตักข้าวออกจากยุ้ง เพราะผีจะช่วยกินข้าวให้หมดเร็ว การดูตารางวันที่ผีตามอยช่วยกินข้าวให้นับตั้งแต่ 1 ค่ำ ไปถึง 15 ค่ำ แถวบนเป็นเดือนข้างขึ้น แถวล่างเป็นเดือนข้างแรม


ในการตักข้าวเปลือกไปตำนั้น คนโบราณท่านว่าไม่จำเป็นไม่ควรใช้กระบุงหรือภาชนะอย่างอื่นตัก ข้าว จะทำให้ขวัญข้าวหนี แต่จะใช้ “อองเต่า” (คือกระดองเต่าที่ตัวตายไปแล้ว) เป็นภาชนะตักข้าวเปลือกจากยุ้งใส่กระบุง เมื่อจะนำข้าวออกไปตำไปสี

ทานข้าวใหม่ เมื่อนำข้าวเปลือกใส่ยุ้งฉางแล้ว เจ้าของบ้านจะยังไม่เอาข้าวใหม่มาตำหรือสีกินจนกว่าจะได้ทำบุญข้าวใหม่เสียก่อน เรียกว่า “ทานข้าวใหม่” เพื่ออุทิศกุศลไปถึงเทวดา ผีขุนน้ำ (เช่น ขุนหลวงบ่าลังคะ เป็นต้น) และปู่ย่าตายาย พ่อแม่ที่เป็นเจ้าของไร่นามาแต่เดิม สำรับข้าวที่จะทานข้าวใหม่ประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งสุก อาหารตามความนิยมของท้องถิ่น บางแห่งมีห่อนึ่งหัวปลีหรือห่อนึ่งไก่ 1 ห่อ บางท้องถิ่นมีแกงวุ้นเส้น แกงอ่อม บางท้องถิ่นมีปลาย่างหรือปลาบ้วง 1 ตัว ข้าวจี่ และข้าวหลาม
การทานข้าวใหม่นี้ใครเก็บเกี่ยวเสร็จก่อนก็ยกไปทำบุญก่อน สำหรับวันที่นัดพร้อมกันไปทำบุญทานข้าวใหม่ที่วัด คือ วันเพ็ญเดือน 4 เหนือ (ประมาณเดือนมกราคม) ซึ่งเรียกวันนี้ว่า “เดือน 4 เป็ง” สมัยโบราณในวันนี้ทางวัดทุกวัด จะจัดให้มีประเพณีทานข้าวใหม่ และก่อกองฟืนที่หน้าวิหาร เพื่อจุดไฟให้พระประทานในวิหารได้ผิงแก้หนาวในเช้าของวันเดือน 4 เป็ง ด้วย เรียกกองฟืนนี้ว่า “หลัวหิงพระเจ้า” หน้าพระประธานในวิหารจะปูเสื่อกะลาไว้ 2 จุด แต่ละจุดตั้งบาตรพระไว้ 1 ลูก สำหรับให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือก และข้าวสาร มาใส่บาตร เพื่อทานเป็นข้าวล้นบาตร หรือเรียกว่า หล่อข้าวบาตร หรือการทานดอยข้าว ซึ่งข้าวนี้พระภิกษุสามเณรจะเก็บไว้ฉันเวลาที่ฝนตกหนักออกบิณฑบาตไม่ได้

การสวนหรือตวงข้าวเปลือก

หลังจากที่พัดข้าวลีบหรือเศษฟางข้าวออกหมดแล้ว ก่อนที่จะขนข้าวกลับบ้านชาวไร่ชาวนาบางพื้นที่จะใช้เครื่องตวงวัดเรียกว่า “ต๋าง” (เท่ากับประมาณ 1.5 ถัง) หรือ “ต๋างควาย” (เท่ากับประมาณ 2 ถัง) สวนหรือตวงข้าวเปลือก เพื่อให้ทราบปริมาณข้าวเปลือกที่ได้ในแต่ละปี

ในบางพื้นที่จะไม่ใช้ต๋างในการนับปริมาณข้าวเปลือกแต่จะนับจากจำนวนถุงผ้าหรือกระสอบที่ใช้บรรจุข้าวเปลือกว่าได้กี่ถุงหรือกี่กระสอบ

วิธีการพัดข้าว

วิธีการพัดข้าว

การกำจัดเศษฟางข้าว ฝุ่นผง และข้าวลีบออกไปจากข้าวเปลือก สามารถทำได้
หลายวิธี วิธีที่ 1 เอาสาดกะลาปูใกล้ๆ บริเวณกองข้าวเปลือก แล้วใช้ภาชนะ เช่น กระบุง ตักข้าวเปลือกจากกอง ยกกระบุงข้าวเปลือกนั้นชูขึ้น แล้วเทข้าวเปลือกลงมาบนสาดกะลา ในขณะที่ข้าวเปลือกตกลงสู่สาดกะลานั้น จะมีคน 1-2 คนยืนอยู่ข้างๆ คอยใช้ก๋าวีพัด
วิธีที่ 2 วิธีนี้จะพัดเมื่อฟาดข้าวในตารางหรือฟาดบนแคร่ได้ข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งแล้ว โดยใช้ก๋าวีพัดบนกองข้าวเปลือกสลับกับการฟาดข้าวเป็นระยะๆ สำหรับการพัดข้าวเปลือกที่ได้จากการฟาดบนแคร่รูปร่างคล้ายกับโต๊ะ ในช่วงแรกที่ได้ข้าวเปลือกจำนวนไม่มากนักจะพัดใต้แคร่เป็นระยะๆ โดยยังไม่ต้องยกแคร่ออก (เนื่องจากแคร่มีความสูง) ฟาดข้าวไปก็พัดไป ส่วนในช่วงหลังถ้าฟาดข้าวจนได้ข้าวเปลือกสูงท่วมแคร่แล้ว ต้องยกแคร่ออกก่อนถึงจะพัดได้
วิธีที่ 3 ใช้ไม้ผากหรือเปี้ยดหรือน้ำครุ (กระป๋อง) ตักข้าวเปลือกโยนขึ้นไปบนอากาศ เรียกว่า “หะข้าว” หรือ “โจ้นข้าว” หรือ “โจ้ข้าว” เพื่อให้ข้าวเปลือกไปตกที่สาดกะลาที่ปูใกล้ๆ บริเวณกองข้าวเปลือก ในกรณีที่ฟาดข้าวโดยใช้ครุรองรับบางคนอาจจะหะข้าวจากในครุเลย
ในขณะที่หะข้าวต้องเอียงไม้ผากเล็กน้อย การหะต้องทำให้ได้จังหวะพอดี ไม่แรงหรือเบาเกินไป ให้มีลักษณะ “เป็นงวงเป็นงา” (โค้งลง) ซึ่งจะทำให้เศษข้าวลีบและฝุ่นปลิวออกไปได้ง่าย และยังช่วยไม่ให้ข้าวเปลือกกระเด็นออกไปนอกสาดกะลาในขณะที่หะ ในจังหวะที่หะข้าวคนที่ยืนอยู่ข้างๆ จะใช้ก๋าวีพัด
วิธีที่ 4 ชาวม้งบางพื้นที่จะหาต้นไม้ที่แข็งแรงสูงประมาณ 4-5 เมตร เก็บเศษหิน เศษกิ่งไม้บริเวณด้านล่างของต้นไม้ออกให้หมด เพื่อให้พื้นราบเสมอกัน แล้วใช้สาดกะลา จำนวน 4-5 แผ่น ปูไว้ได้ต้นไม้นั้น แล้วนำบันไดฟาดต้นไม้ แล้วปีนขึ้นไปค่อยๆ เทข้าวลงมาบนสาดกะลาที่เตรียมไว้ เพื่อให้ลมช่วยพัดเศษข้าวลีบต่าง
วิธีที่ 5 ชาวกะเหรี่ยงนำไม้ไผ่มาทำบันได โดยฝังเสาลึกลงไปในดิน ให้บันไดตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วนำข้าวเปลือกใส่ตะกร้าแบกขึ้นไปบนบันได ค่อยๆ เทข้าวเปลือกลงสู่พื้นด้านล่าง ซึ่งจะมีสาดกะลาปูอยู่ ถ้าในขณะที่เทข้าวลงมาไม่มีลมพัด คนที่อยู่ด้านล่างก็จะใช้ก๋าวีพัด

อุปกรณ์การพัดข้าว

การกำจัดสิ่งที่ปนอยู่กับข้าวเปลือกนั้น ใช้อุปกรณ์ดังนี้

“ผาก“ หรือ “กะจุ้น” หรือ “ไม้โจ้ข้าว” ทำด้วยไม้สักท่อนใหญ่ นำมาทำให้มีลักษณะคล้ายพลั่วตักดิน ผากมีหลายขนาด ใช้สำหรับตักข้าวเปลือกโยนขึ้นไปบนอากาศ แต่บางคนจะใช้เปี้ยด หรือกระบุง (ปัจจุบันบางคนใช้กระป๋อง) ตักข้าวเปลือกแทนผาก



ผาก


ก๋าวีหรือวี ทำจากไม้ไผ่นำมาสานให้เป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตร ยึดติดกับไม้ไผ่ที่ทำเป็นด้าม ก๋าวีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัดข้าวเปลือก เพื่อให้เศษข้าวลีบและฝุ่นผงที่ปนอยู่กับข้าวเปลือกหลุดออกไป (ปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ โดยเอาใบพัดของพัดลมใส่แทนใบเลื่อย หรือใช้พัดลมไฟฟ้า พัดข้าวแทนก๋าวีเป็นการทุ่


ก๋าวี หรือวี

การพัดข้าวเปลือก

เมื่อนวดหรือฟาดข้าวหรือซ้อมขี้เฟื้อนจนได้ข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งแล้ว ในกองข้าวเปลือกนั้นจะมีทั้งเศษฟางข้าว ข้าวลีบ ปะปนอยู่ในกองข้าวเปลือก ก็จะต้องกำจัดสิ่งเหล่านั้นก่อนที่จะขนข้าวเปลือกไปไว้ในยุ้งฉางต่อไป

การซ้อมขี้เฟื้อน

ในขณะที่ฟาดข้าวจะมีที่ข้าวที่หักหลุดออกจากมัดหรือไม้หนีบ ร่วงลงไปบนกองข้าวโดยที่ยังมีข้าวเปลือกติดอยู่ที่รวงข้าว บางคนเรียกว่า “ขี้เฟื้อน” หรือ “ขี้เฮอะ” หรือ “ขี้ข้าว” ในขั้นตอนนี้การทำให้ข้าวเปลือกที่ติดอยู่ที่รวงข้าวหลุดออกจากรวง เรียกว่า “ซ้อมขี้เฟื้อน” หรือ “เอาขี้เฟื้อน” หรือ “เอาขี้เฮอะ” หรือ “เล่นขี้ข้าว”
การซ้อมขี้เฟื้อน

ไม้สางข้าว

วิธีการนวดหรือฟาดข้าว

การ “ตีตาราง” เริ่มจากการนำสาดกะลา (ปัจจุบันนิยมใช้ผ้าเต๊นท์แทน เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและสามารถขนย้ายได้ง่ายกว่าสาดกะลา) มาปูบนตารางที่เตรียมไว้ แล้วมายืนบนสาดกะลา ยกข้าวเฟ่าชูขึ้น แล้วฟาดส่วนที่เป็นรวงข้าวลงไปบนสาดกะลา บางคนอาจจะใช้ไม้ตีซ้ำไปที่ข้าวเฟ่า เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงหมดแล้ว

การตีแคร่ การฟาดข้าวโดยใช้แคร่รองรับเรียกว่า “ตีแคร่” โดยจะปูตารางด้วยสาดกะลาเป็นบริเวณกว้าง เพราะการฟาดแต่ละครั้งข้าวเปลือกจะกระเด็นไปไกลพอสมควร การฟาดข้าวเฟ่าไปบนแคร่ (แบบวางทางแนวนอน แคร่วางทางแนวตั้ง และแคร่ลูกระนาดบางแบบ) ผู้ฟาดจะยืนอยู่ด้านหลังแคร่ เมื่อฟาดข้าวเฟ่าไปบนแคร่ ข้าวเปลือกจะหลุดจากรวงไปกองอยู่หน้าแคร่ด้านหน้าของผู้ฟาด

การตีครุ การฟาดข้าวโดยใช้ครุรองรับเรียกว่า “ตีครุ” ผู้ฟาดจะยืนอยู่ภายนอกครุ เมื่อฟาดข้าวจะยกข้าวเฟ่าขึ้นให้ด้านที่มีรวงข้าวอยู่ภายในครุ ข้าวเปลือกก็จะหลุดจากรวงตกอยู่ภายในครุ อย่างไรก็ตามชาวลื้อบางพื้นที่จะไม่ใช้วิธียกข้าวเฟ่าขึ้นแล้วฟาดลงไปในครุ แต่จะเอาข้าวเฟ่าวางในครุให้ด้านที่มีรวงข้าวหันเข้าหาศูนย์กลางของครุ แล้วใช้ไม้เป๋ฟาดไปที่ข้าวเฟ่านั้น