วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์รองรับการฟาดหรือตีข้าว

นอกจากอุปกรณ์ในการนวดข้าวหรือฟาดข้าวแล้ว ชาวไร่ชาวนายังมีอุปกรณ์รองรับการนวดหรือฟาดหรือตีข้าวหลายชนิด เช่น เสื่อ ครุ และ แคร่ เป็นต้น

เสื่อ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “สาดกะลา” หรือ “กะลา” หรือ “สาดสาน” เป็นเสื่อที่ทำจากไม้ไผ่ที่นำมาจักสาน การสานนิยมทำ 2 แบบ คือการสานแบบหักมุมทำเป็นคอก สำหรับใส่ล้อหรือเกวียนเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวหล่นออกไป และการสานเป็นผืนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ในอดีตชาวไร่ชาวนาจะนำสาดกะลามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ (ปัจจุบันนิยมนำผ้าเต๊นท์มาใช้งานแทนสาดกะลามากขึ้น เนื่องจากผ้าเต๊นท์มีน้ำหนักเบาสะดวกในการเคลื่อน ย้ายไปใช้งานในบริเวณต่างๆ) เช่น การตากผลผลิต การใช้ปพื้นรองรับการนวดหรือฟาดข้าว การใช้ปูพื้นหรือบังด้านข้างเสวียนหรือยุ้งข้าว เป็นต้น



สาดกะลาม้วนเก็บไว้หลังจากใช้งานแล้ว


“ครุ” (อ่านออกเสียงว่า “คุ”) มีหลายขนาด ขนาดใหญ่มีส่วนปากกว้างประมาณ 2.5-3 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร
ในการสานครุจะนำส่วนผิวของไม้ไผ่ (นิยมใช้ “ไม้ไผ่ซางเย็น”) มาจักเป็นตอกกว้างประมาณ 1 นิ้ว นำมาสานลายสอง เมื่อสานได้ขนาดพอสมควร นำไปวางบนหลุมวงกลม แล้วขึ้นไปเหยียบเพื่อให้บริเวณศูนย์กลางนูนขึ้นมา เรียกว่า “ทำหมก” (ส่วนที่โค้งนูนขึ้นมา เรียกว่า “หมง”) หลังจากนั้นใช้คนอย่างน้อย 4 คนช่วยกันสานต่อขึ้นมาเป็นวงกลม โดยในขณะที่สานยังคงวางส่วนก้นครุอยู่ในหลุม



หลุมที่ใช้ในการสานครุ





หมง



“แคร่” (อ่านออกเสียงว่า “แค่”) หรือบางพื้นที่เรียกว่า “แคะ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รองรับการฟาดข้าวประเภทหนึ่ง แคร่มีหลายลักษณะ เช่น แคร่วางทางนอน แคร่วางทางตั้ง และแคร่ลูกระนาด



แค่ร ลูกระนาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น