วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ในการลำเลียงข้าว

หลังจากเมาะข้าวแล้ว ก็จะขนข้าวไปรวมที่ตารางหรือใกล้ๆ ตาราง ในการขนข้าวนอกจากการใช้มือหอบแล้ว ชาวไร่ชาวนามีอุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรงในการขนย้ายหลายชนิด เช่น หลาว ม้าว ขาหมา เป๊อะ ผ้า เป็นต้น

หลาว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาบ ที่มีลักษณะปลายทั้งสองข้างแหลมเพื่อใช้เสียบมัดข้าว วัสดุที่ใช้ทำหลาวมีทั้งไม้ไผ่และไม้จริง หลาวไม้จริง ทำจากไม้จริงที่นำมาทำให้เรียวยาว ส่วนปลายทั้งสองข้างแหลมตรงหรืองอนเล็กน้อย เจาะรูตรงกลาง 2 รูเพื่อสอดขาหยั่งเข้าไปเมื่อจะใช้งาน หลาวไม้ไผ่ ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ โดยเฉือนปลายทั้ง 2 ข้างให้แหลมในลักษณะขนานกัน เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักของมัดข้าวได้ และไม่หักง่าย

ม้าว ทำจากเชือกปอหรือฟางข้าวนำมาพันกันเป็นเส้น ยาวประมาณ 1 เมตร


หลาวไม้จริงวางแบบคว่ำอยู่บนขาหยั่ง




หลาวไม้ไผ่


ม้าว



ตะกร้า หรือกระบุง เป็นเครื่องสานทรงสูง ปากตระกร้ากลมหรือรีๆ นิยมใช้ในกลุ่มของชาวกะเหรี่ยง ชาวม้ง ชาวขมุ และชาวลัวะ ลักษณะของตะกร้าหรือกระบุงนี้แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น “เป๊อะ” (ในบางพื้นที่คำว่า “เป๊อะ” มี 2 ความหมายคือ หมายถึงภาชนะใส่ของ และวิธีการแบกโดยใช้ศีรษะหรือบ่าในการรับน้ำหนัก) “ก๋วย” “กึ” เป็นต้น



เป๊อะ


กึ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น